วันอาทิตย์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2562

ภาคตะวันออก


ภาคตะวันออก 






อาหารส่วนใหญ่ของภาคตะวันออก คงจะหนีไม่พ้นอาหารซีฟู้ด เพราะอยู่ติดกับทะเล ส่วนผสมอื่น ๆ จะประกอบด้วยผักพื้นบ้าน เครื่องเทศสมุนไพรเฉพาะถิ่น และผลไม้หลายชนิด ที่น่าแปลกใจ คือ อาหารคาวบางอย่างจะใส่ผลไม้ลงไปด้วย เมนูที่สนใจ ได้แก่ แกงหมูชะมวง เมนูนี้มีชื่อมาจากสมุนไพรพื้นบ้านอย่างใบชะมวงซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักของเมนูนี้ รสชาติของแกงหมูชะมวงจะมีรสหวานเค็มและเปรี้ยวนิด ๆ ที่ได้จากใบชะมวง หมูที่นำมาเคี่ยวจนเปื่อยส่วนใหญ่จะใช้หมูสามชั้นนุ่มลิ้น ปรุงให้รสชาติเข้มข้น หอม มันเหมาะกับข้าวสวย หากใครสนใจอยากกินแกงหมูชะมวงรสดั้งเดิม


ภาคอีสาน

ภาคอีสาน 







อาหารพื้นบ้านอีสานส่วนมากจะมีรสเผ็ด เค็ม เปรี้ยว คนอีสานจะรับประทานข้าวเหนียว กับอาหารพื้นบ้านที่มีรสจัดและน้ำน้อย วิธีปรุงอาหารพื้นบ้านอีสานมีหลายวิธี คือ ลาบ ก้อย จํ้า จุ๊ หมก อู่ เอ๊าะ อ่อม แกง ต้ม ซุป เผา กี่ ปิง ย่าง รม ดอง คั่ว ลวก นึ่ง ตำ แจ่ว ป่น เมี่ยง ดังนั้นตำรับ อาหารพื้นบ้านของภาคอีสาน จึงมีควาหลากหลายและมีรูปแบบที่น่ารับประทานมาก ในบรรดาตำรับอาหารภาคอีสานนั้น สิ่งที่จะขาดไม่ได้คือ น้ำปลาร้า จัดว่าเป็นเครื่องปรุงที่ช่วยเพิ่มรสชาติ ให้อาหารน่ารับประทานยิ่งขึ้น ‘น้ำปลาร้าจึงมีบทบาทต่อการประกอบอาหาร เกือบทุกตำรับของอาหารอีสานก็ว่าได้ ซึ่งทำให้กลายเป็นสัญลักษณ์และเป็นอาหารเด่นที่ทุกคนต้องรู้จัก ซึ่งมีตำนาน ผักพื้นบ้านและตำรับอาหารบางชนิ








ภาคเหนือ

ภาคเหนือ 





ในอดีตบริเวณภาคเหนือ ของไทยเคยเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรล้านนามาก่อน ช่วงที่อาณาจักรแห่งนี้เรืองอำนาจ ได้แผ่ขยายอาณาเขตเข้าไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เช่น พม่า ลาว และมีผู้คนจากดินแดนต่าง ๆ อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในดินแดนแห่งนี้ จึงได้รับวัฒนธรรมหลากหลายจากชนชาติต่าง ๆ เข้ามาในชีวิตประจำวันรวมทั้งอาหารการกินด้วยอาหารของภาคเหนือ ประกอบด้วยข้าวเหนียวเป็นอาหารหลัก มีน้ำพริกชนิดต่าง ๆ เช่น    น้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกอ่องมีแกงหลายชนิด เช่น แกงโฮะ แกงแค นอกจากนั้นยังมีแหนม ไส้อั่ว แคบหมู และผักต่าง ๆ สภาพอากาศก็มีส่วนสำคัญที่ทำให้อาหารพื้นบ้านภาคเหนือแตกต่างจากภาคอื่น ๆ นั่นคือ การที่อากาศหนาวเย็นเป็นเหตุผลให้อาหารส่วนใหญ่มีไขมันมาก เช่น น้ำพริกอ่อง แกงฮังเล  ไส้อั่ว เพื่อช่วยให้ร่างกายอบอุ่น อีกทั้งการที่อาศัยอยู่ในหุบเขาและบนที่สูงอยู่ใกล้กับป่า จึงนิยมนำ พืชพันธุ์ในป่ามาปรุงเป็นอาหาร เช่น ผักแค บอน หยวกกล้วย ผักหวาน ทำให้เกิดอาหารพื้นบ้าน  ชื่อต่าง ๆ เช่น        แกงแค แกงหยวกกล้วย แกงบอน



ภาคใต้

ภาคใต้ 








   อาหารพื้นบ้านภาคใต้ทั่วไป มีลักษณะผสมผสานระหว่างอาหารไทยพื้นบ้านกับอาหารอินเดียใต้ เช่น น้ำบูดู ซึ่งได้มาจากการหมักปลาทะเลสดผสมกับเม็ดเกลือ และมีความคล้ายคลึงกับอาหารมาเลเซีย อาหารของภาคใต้จึงมีรสเผ็ดมากกว่าภาคอื่น ๆ และด้วยสภาพภูมิศาสตร์อยู่ติดทะเลทั้งสองด้านมีอาหารทะเลอุดมสมบูรณ์ แต่สภาพอากาศร้อนชื้น ฝนตกตลอดปี อาหารประเภทแกงและเครื่องจิ้มจึงมีรสจัด ช่วยให้ร่างกายอบอุ่น ป้องกันการเจ็บป่วยได้อีกด้วย










อาหารประจำ 5 ภาค

อาหารประจำภาค



ภาคกลาง 









ภาคอีสาน 















ภาคใต้ 

















ภาคเหนือ 
















ภาคตะวันออก 







วันพฤหัสบดีที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2562

ภาคกลาง


ภาคกลาง 



อาหารพื้นบ้านภาคกลางเป็นอาหารที่มีลักษณะผสมผสานกันหลายรส มีทั้งรสเผ็ด เค็ม เปรี้ยว หวาน จืด และมักมีเครื่องเทศ กะทิ เป็นส่วนประกอบอยู่ด้วยเสมอ อาหารที่ชาวต่างชาติ ส่วนใหญ่รู้จักและนิยมรับประทานมักเป็นอาหารภาคกลาง ซึ่งผ่านการดัดแปลงส่วนประกอบและ รสชาติแล้ว ตัวอย่างอาหารที่คนภาคกลางนิยมรับประทาน เช่น เมี่ยงคำ แกงเลียง แกงส้มดอกแค ยำถั่วพู สะเดาน้ำปลาหวาน ปลาดุกย่าง แกงเขียวหวานลูกชิ้นปลากราย ห่อหมกปลา เป็นต้น     



อ้างอิง : https://sites.google.com/site/xaharthiyphunmeuxng4phakh/1-xahar-praca-phakh








<<หน้าหลัก




วันพฤหัสบดีที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2562

Is me

Welcome to my Blog! 


มาทำความรู้จักกันเถอะ! 


ชื่อ : พิมพ์ลดา คุณสิทธิภาคย์ 
กำลังศึกษา : ชั้น ม.6/10 แผนการเรียน คณิต-อังกฤษ 
เลขที่ : 41 
งานอดิเรก : ชอบฟังเพลง,ตัดต่อรูปในPhotoshop 
มีสัตว์เลี้ยง2ตัว ชื่อ เกาเหลา 




และนี่คือเพื่อนร่วมห้องของเรา 6/10 






และนี่เพื่อนๆในกลุ่มของเรา มีชื่อด้วยนะชื่อว่า "ฝอยทอง" 




















ศาสตร์พระราชา











<<< หน้าหลัก